หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12



☆  บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 ☆

วัน อังคาร ที่ 17 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เวลา 08 : 30 - 12 : 30 น.


 เนื้อหาการเรียนครั้งที่ 12

                 อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มกัน 7-8 คน เพื่อการออกแบบในการทำกิจกรรม Cooking🧑‍🍳 การให้นักศึกษาออกแบบในการทำอาหารว่าจะทำเมนูอะไรและมีขั้นตอนอย่างไร โดยกลุ่มของดิฉันได้ออกแบบว่าจะทำข้าวคุกสาหร่ายและทำสลัดโรล

ข้าวคลุกสาหร่าย



ขั้นตอนวิธีการทำข้าวคลุกสาหร่าย

1. เตรียมวัตถุดิบในการทำ
   
ข้าวสวย
              

ไส้กรอก   
  

 สาหร่าย
    

ซอสมะเขือเทศ
    


2. นำสาหร่ายมาคลุกกับข้าวสวย



3. หั่นไส้กรอกแล้วนำมาตกแต่งบนข้าว จากนั้นบีบซอสมะเขือเทศใส่

สลัดโรล 



ขั้นตอนวิธีการทำสลัดโรล

1. เตรียมวัตถุดิบในการทำ

แป้งเปาะเปี๊ยะเวียดนาม


ผักสลัด


ไส้กรอก


แตงกวา


แครอท


น้ำสลัด



2. เตรียมน้ำสะอาดใส่ถ้วย เพื่อจุ่มแป้งเปาะเปี๊ยะเวียดนามให้นิ่ม
3. เมื่อแป้งเปาะเปี๊ยะเวียดนามได้ที่แล้ว เอามาแป้งที่ได้มาวางไว้ในจานใหญ่ๆ จากนั้นนำเครื่องเคียงมาจัดวาง (ผักสลัด ไส้กรอก แตงกวา แครอท) 
4. เมื่อห่อเสร็จแล้ว นำมาจัดใส่จานแล้วราดด้วยน้ำสลัด


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

               1. Cooking        =        การทำอาหาร
               2. Step        =         ขั้นตอน
               3. Connect          =            เชื่อมโยง
               4. Design         =           การออกแบบ
               5. Active unit       =      หน่วยกิจกรรม


ประเมินอาจารย์💜

วันนี้อาจาร์สอนวิธีการสอนเชื่อมโยงคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โดยการทำอาหาร

ประเมินตนเอง💜 

กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมกลุ่ม สนุกสนาน ได้ความรู้ใหม่ๆมากมาย สนุกสนาน มีจินตนาการที่เพิ่มมากขึ้นในการทำ
ประเมินเพื่อน💜 

เพื่อนตั้งใจทำงานให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มและช่วยกันคิด ช่วยกันออกแบบอย่างเต็มที่ มีความสามัคคีในการทำงานดีมาก 

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

 


☆  บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 ☆

วัน อังคาร ที่ 10 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เวลา 08 : 30 - 12 : 30 น.


 เนื้อหาการเรียนครั้งที่ 11




                    อาจารย์ให้ส่ง Mind map เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ แล้วอาจารย์ก็ตรวจงาน สื่อพัฒนาการลูกรัก จากนั้นก็ดูคลิป บ้านวิทยาศาสตร์ตัวน้อย โดยมีกล่องวิเศษ ที่มีกะหล่ำปลี แก้วกระเบื้อง แล้วมาทำการทดลองโดยหั่นกะหล่ำปลีใส่ในแก้วแล้วใส่น้ำร้อนลงไปจะเกิดอะไรขึ้น?

ใส่น้ำมะนาว  สีแดง (พอใส่สีจะแตกต่างกัน)

การทดลอง  จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดปัญหา,ความอยากรู้ อยากเห็น

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

            1. Science       =       วิทยาศาสตร์

            2. Experiment        =        การทดลอง

            3. Inquisitive , Curious       =         อยากรูู้อยากเห็น

            4. Difference         =       ความแตกต่าง

            5. Magic box      =      กล่องวิเศษ

💜ประเมินอาจารย์

อาจารย์มาตรงต่อเวลาและอธิบายและให้คำแนะนำในการทำงาน

💜ประเมินตนเอง

มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน และมีความกระตือรือร้นในการเรียนให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

💜ประเมินเพื่อน

เพื่อนบางคนก็มาตรงต่อเวลาแต่บางคนก็มาสาย แต่ก็ตั้งใจเรียน




วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10



☆  บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 ☆

วัน อังคาร ที่ 3 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เวลา 08 : 30 - 12 : 30 น.


 เนื้อหาการเรียนครั้งที่ 10

                    อาจารย์ให้นักศึกษาดูคลิปวิดิโอ อ่านสร้างสุข โดยเทคนิคการอ่านหนังสือให้เด็กๆ ฟัง ต้องใช้เทคนิคอะไรบ้าง แล้วอาจารย์ก็ได้มอบหมายงาน


1. ให้นักศึกษาไปค้นคว้าหานิทานที่ห้องสมุดเพื่อนำมาทำสื่อเพื่อพัฒนาลูกรัก

ในการทำนั้นต้องมีประเด็น ตั้งสมมติฐาน ดำเนินการปฏิบัติ

2. ทำmind map เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

               1. The media           =          สื่อ

               2. Tale         =        นิทาน

               3. Issues          =         ประเด็น

               4. Hypothesis           =           สมมติฐาน

               5. Conclude      =        สรุป

💜ประเมินอาจารย์

            อาจารย์มาสอนตรงเวลา และอธิบายงานที่มอบหมายให้นักศึกษาเข้าใจ

💜ประเมินตนเอง

             มาเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย

💜ประเมินเพื่อน

            มีทั้งคนที่มาเรียนตรงเวลาและมีทั้งคนที่มาสาย แต่ก็ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบาย ไม่เสียงดังรบกวนขณะที่อาจารย์สอน

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

 


☆  บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 ☆

วัน อังคาร ที่ 27 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08 : 30 - 12 : 30 น.


เนื้อหาการเรียนครั้งที่ 9

            อาจารย์สนทนาก่อนเข้าบทเรียนและให้จัดกลุ่มละ 4-5 คน แล้วให้นักศึกษาทำกิจกรรม

👉กิจกรรมที่ 1👈

    วาดจุดเด่นของแหล่งน้ำแต่ละแห่งโดยที่ไม่บอกชื่อของแหล่งน้ำ จากนั้นให้นักศึกษาทายชื่อแหล่งน้ำของแต่ละกลุ่ม



👉กิจกรรมที่ 2👈

    นำหลอด 25 อัน และเทปใส 1 ม้วนมาสร้างเป็นสไตล์เดอร์ จากนั้นนำดินน้ำมันมากลิ้งแล้วกลุ่มไหนใช้เวลาในการกลิ้งนานที่สุด



👉กิจกรรมที่ 3👈

    นำกระดาษมาพับครึ่งสองทบแล้วตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้โดยให้นักศึกษาออกแบบเอง






→ กระบวนการที่ได้รับ

    - ได้นำหลักการ 8c มาใช้ในการวางแผนและลงมือทำ แต่ก็สามารถนำมาใช้เป็นหลักในการดำเนินการได้

    


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

            1. River     =     แม่น้ำ

            2. Planning     =     การวางแผน

            3. Thinking          =        การคิด

            4. Goal        =        เป้าหมาย

            5. Activity      =      กิจกรรม


ประเมินอาจารย์

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และมีการเตรียมเนื้อหาการสอนและอุปกรณ์ในการจะให้นักศึกษาทำกิจกรรม

ประเมินตนเอง

มีความกระตือรือร้นในการเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน

เพื่อนให้ความร่วมมือกันในการทำงานกลุ่ม





วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8



☆  บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 ☆

วัน อังคาร ที่ 6 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08 : 30 - 12 : 30 น.



เนื้อหาการเรียนครั้งที่ 8

            อาจารย์พูดคุยกับนักศึกษาเกี่ยวกับบล็อกว่ามีการเคลื่อนไหวไปถึงไหนแล้ว และมีการเพิ่มเนื้อหาบ้างยัง แล้วอาจารย์ก็ได้ทบทวนเนื้อหาการเรียนครั้งที่ผ่านมา และอาจารย์ก็ได้เปิดคลิปวิดิโอหมีจ๋าขี้สงสัย เรื่อง อากาศ โดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยการทำการทดลองจากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ต้นไม้ ใบไม้ ขวดโหล กระดาษ ลูกโป่ง ฟองสบู่ ถ้วยแก้ว ฯลฯ จากการทดลองอาจารย์ก็ให้นักศึกษาลองสังเกตว่าอากาศมีการเคลื่อนที่อยู่ในอุปกรณ์พวกนั้นอย่างไร  และสามารถสรุปได้ดังนี้

              → อากาศ รอบๆตัวเรานั้นมีอากาศ ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ก็ต้องมีอากาศช่วยหายใจ

             → อากาศจะช่วยปรับความสมดุลอยู่ตลอดเวลา อากาศร้อนจะลอยตัวหาอากาศเย็น อากาศเย็นจะปรับอุณหภูมิต่ำลงมาทำให้อากาศสมดุลกัน

             → น้ำหนักของอากาศ ความร้อนทำให้อากาศเบาจึงทำให้สิ่งของลอยขึ้น เช่น บอลลูน

             → แรงดันอากาศ คือ อากาศที่กดลงในพื้นอากาศ

             → อากาศจะเคลื่อนที่ออกไปเมื่อมีสิ่งใหม่ที่เข้ามาแทนที่

             → ลม คือ อากาศที่เคลื่อนพัดไปมา

             → อากาศร้อนมีแรงดันน้อยกว่าอากาศเย็น

            แล้วอาจารย์ก็มีการพูดคุยและสรุปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันจากคลิปวิดิโอ เรื่องอากาศ ว่าได้อะไรบ้างจากการดูคลิปวิดิโอนี้ จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำสรุปจากการดูคลิปวิดิโอ เรื่อง อากาศ และอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มละ 4 คน ในการทำสื่อเกี่ยวกับอากาศ




คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

               1. Weather     =     สภาพอากาศ

               2. Air pressure     =    ความดันอากาศ

               3. Wind     =     ลม

               4. Heat    =     ความร้อน

               5. Coolness    =     ความเย็น

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา มีการยกตัวอย่างควบคู่ไปกับเนื้อหาที่สอนทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

ประเมินตนเอง

มาเรียนตรงต่อเวลา และกระตือรือร้นในการเรียนและการทำงานที่อาจารย์มอบหมาย

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจเรียนและตั้งใจทำงานกลุ่มให้ความร่วมมือกันทำให้การทำงานร่วมกันสนุกไปด้วย



 
  

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

 


☆ บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 ☆

วัน อังคาร ที่ 22 เดือน กันยายน พ.ศ. 2563

เวลา 08 : 30 - 12 : 30 น.


เนื้อหาการเรียนครั้งที่ 7

            วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาเขียนความสำคัญของวิทยาศาสตร์ในความคิดของเราว่ามีความสำคัญอย่างไร และอาจารย์ก็ได้อธิบาย




ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

          - การดำรงชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่างๆ

          - ผลผลิตต่างๆ เพื่อใช้อำนวยความสะดวกใบนชีวิตและการทำงาน

           - คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้

           - ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถแข่งขันกับนานาประเทศและการดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข

ความรู้ของวิทยาศาสตร์

          การศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติโดยทั่วไป จะประกอบด้วย

              - ตัวความรู้

              - กระบวนการที่ใช้ในการค้นคว้าหาความรู้อย่างมีระบบเพื่อนำมาปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

        1. Science   =    วิทยาศาสตร์

        2. Ability   =   ความสามารถ

        3. Reading   =   การอ่าน

        4. Writing   =   การเขียน

        5. Arithmetic    =    การคิดเลขเป็น

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ตรงต่อเวลาในการเข้าสอน และมีการยกตัวอย่างในการสอนเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ประเมินตนเอง

ให้ความร่วมมือในการการทำกิจกรรม และตั้งใจเรียน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตรงต่อเวลาบางคนบางคนก็มาสายเพราะฝนตก






วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

 


☆ บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 ☆

วัน อังคาร ที่ ๅ เดือน กันยายน พ.ศ. 2563

เวลา 08 : 30 - 12 : 30 น.



เนื้อหาการเรียนครั้งที่ 5

            วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกแบบชื่อตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ และก็ให้นักศึกษาส่งสื่อการสอนคณิตศาสตร์ที่ไปหามาส่งลงในกลุ่ม padlet แล้วอาจารย์ก็ขึ้นสาระสำคัญคณิตศาสตร์ในสาระที่ 2 การวัด การวัดความยาวสิ่งต่างๆ เป็นการหาความยาวตามแนวนอน ส่วนการวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง การวัด ความยาว ความสูง ของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยที่ไม่ใ่ช่หน่วยมาตรฐาน

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

        1. Equipment    =     เครื่องมือ

        2. Measurement    =    การวัด

        3. Standard unit    =     หน่วยมาตรฐาน

       4. Design     =    ออกแบบ

       5. Degree   =    ระดับ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ให้ความสนใจนักศึกษาขณะสอนทุกคน และรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษาในเนื้อหาที่สอน

ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่ง

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียน ในการตอบ-คำถามอาจารย์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน






วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

 


☆ บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 ☆

วัน อังคาร ที่ 25 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08 : 30 - 12 : 30 น.


เนื้อหาการเรียนครั้งที่ 4

          วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนเนื้อหาที่เรียนสัปดาห์ที่แล้ว และวันนี้ก็เรียนรูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย ซึ่งมาจากพัฒนาการของเด็ก เช่น 

→ พอใจคนที่ตามใจ 

→ มีช่วงความสนใจสั้น 8- 10 นาที   

→ สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ 

→ อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว 

→ ช่วยตนเองได้

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ



ทฤษฎีการเรียนรู้พัฒนาการของเด็ก 8 ทฤษฎี 

         1. ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์ (Jerome S. Bruner)

         2. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) ของแบนดูรา     

         3. ทฤษฎีพัฒนาการของกีเซล (Gesell)

         4. ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก (Kolberg)

         5. ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของซิกมันต์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)

         6. ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของอิริคสัน (Erikson)

         7. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget)

         8. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner’s View)

สาระสำคัญคณิตศาสตร์ 

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

ซึ่งจะต้องมีเกณฑ์ในการเรียน และการนับของเด็กปฐมวัยจะเป็นการเรียงจากซ้ายไปขวา

และหลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้จับกลุ่มกันไปเพลงได้มอบหมายให้ร้องเพลงนกกระจิบและแม่ไก่ออกไข่ลงใน Blog

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

       1. Theory   =   ทฤษฎี

       2. Knowledge   =    ความรู้

       3. Comprehend    =    ความเข้าใจ

      4. Analysis   =   การวิเคราะห์

      5. Synthesis   =   การสังเคราะห์

ประเมินอาจารย์

อาจารย์อธิบายเนื้อหาและให้คำแนะนำ พร้อมยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจง่ายขึ้น

ประเมินตนเอง

มาก่อนเวลาเรียนและมีความพร้อมที่จะเรียนในเนื้อหาที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมาย




เพลง นกกระจิบ





เพลง แม่ไก่ออกไข่








บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

 


☆ บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 ☆

วัน อังคาร ที่ 15 เดือน กันยายน พ.ศ. 2563

เวลา 08 : 30 - 12 : 30 น.


เนื้อหาการเรียนครั้งที่ 6

           อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำสมุดเล่มเล็ก การวางแผนในการประดิษฐ์รูปทรงต่างๆในการนำไม้และดินน้ำมันมาทำเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่เราได้วางไว้




และอาจารย์ก็อธิบายเนื้อหาสาระคณิตศาสตร์
สาระที่ 3 เรขาคณิต

-  ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหลัง ระหว่าง ซ้าย ขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง ของสิ่งต่างๆ

- รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ

สาระที่ 4 พีชคณิต

แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งของสิ่งต่างๆ

สาระที่ 5 การวิเคราะห์และความน่าจะเป็น

การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีการสังเกตหรือสอบถามก็ได้

สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

         1. Square  =  สี่เหลี่ยม

         2. Geometry  =  เรขาคณิต

         3. Position   =  ตำแหน่ง

         4. Observing   =   การสังเกต

         5. Creative   =   สร้างสรรค์

ประเมินอาจารย์

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และมีกิจกรรมสอดแทรกในเนื้อหาทำให้ไม่น่าเบื่อ

ประเมินตนเอง

มีความกระตือรือร้นที่จะเรียน และตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆเข้าเรียนตรงต่อเวลา และตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างดี






วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

 


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วัน อังคาร ที่ 18 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2563

เวลา 08 : 30 - 12 : 30 น.

                                          


เนื้อหาการเรียนครั้งที่ 3

        อาจารย์ได้ยกตัวอย่างปรากฏการณ์ของการตั้งม็อบว่าเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างไรบ้าง เข่น

วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องในเรื่องไหนบ้าง

        - สภาพอากาศ

        - การจัดปราศรัยอย่างไร →  เชิงการจัดการ

        - การคัดสรรอาหาร

        - กลวิธีต่างๆ

คณิตศาสตร์เกี่ยวข้องในเรื่องไหนบ้าง

        - ตำแหน่ง 

        - สัญลักษณ์

        - จำนวนคน

        - น้ำ,อาหาร

        - ห้องน้ำ

ทุกปรากฏการณ์สามารถนำมาเป็นการศึกษาได้หมด หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำ Mind map และได้อธิบายการจัดประสบการณ์การสอนอย่างไรให้สอดคล้องการเรียนรู้ของเด็กที่อยู่รอบๆตัวเด็ก และจะออกแบบอย่างไรให้เหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้และพัฒนาการเด็ก

การที่เด็กอยากรู้อยากเห็น   →  การพัฒนา (พฤติกรรม)  →  ความสามารถในแต่ละช่วงวัย (อายุ)

การเรียนรู้ของเด็กนั้นมีการเรียนรู้อย่างไร

ผ่านการเล่น โดยการเล่นของเด็กนั้นเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ปาก และลิ้น และการที่เด็กได้ลงมือทำในอิสระในการเลือกอย่างสนุกสนานวิธีการเหล่านี้คือ การเรียนรู้ ของเด็ก

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

      1. Preception   =    การซึมซับ,การรับรู้

      2. Comprehention   =   ความเข้าใจ

      3. Learnning   =   การเรียนรู้

      4. Senses   =    ประสาทสัมผัส

      5. Development   =   พัฒนาการ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีการเตรียมเนื้อหาที่จะสอนและอธิบายได้เข้าใจง่ายเพราะมีการยกตัวอย่างประกอบ

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและทำงานที่ตนเองได้รับมอบหมาย

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการแสดงออกความคิดเห็นได้เป็นอย่างดี




สรุปวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 

👉สรุปวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย👈

เรื่อง การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป

ที่ส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ของ

วิลันดา  ตรีตุนา



ที่มา : http://www.edu.nu.ac.th/th/news/docs/download/2018_03_29_14_48_55.pdf

            คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์อย่างมากทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์คิดอย่างมีเหตุผลมีผลเป็นระบบมีระเบียบมีแบบแผนคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องคณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตจึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องส่งเสริมและพัฒนาความสามารถ ทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในชีวิตประจำวันและใช้เป็นพื้นฐานในการไประดับที่สูงขึ้นต่อไป และการ จากประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป ก็สอทของและเหมาะสมที่จะนำมาจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กประถมวัยให้ดีขึ้นต่อไปเพื่อสร้างและทดสอบประสิทธิภาพการจัดประสบการณ์เรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคปที่ส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้

            สรุปได้ว่า การจัดประสบการณ์เรียนรู้ตามไฮสโคป ทำให้เด็กได้ส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยภาพรวมแล้วอยู่ในระดับดีมากเพราะเด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมได้ด้วยตนเองโดยให้โอกาสเด็กได้เลือกปฎิบัติกิจกรรมตามความสนใจเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้แบบลงมือทำ อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ      




วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 

👉สรุปวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย👈

เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะการสื่อสารของเด็กปฐมวัย 

โดยใช้การจัดประสบการณ์แบบ S E


ของ

วิลันดา  ตรีตุนา




 ที่มา : http://www.edu.nu.ac.th/th/news/docs/download/2018_03_29_14_48_55.pdf

            การจัดประสบการณ์แบบ S E เป็นกระบวนการเรียนรู้หนึ่งที่ส่งเสริมให้รู้จักคิดโดยให้โอกาสนักเรียนได้คิดค้น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้วิธีการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญในสังคมโลก เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันจึงมีการหาเนื้อหาที่สอนเหมาะสมกับวัย สาระเกี่ยวกับเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัวและสิงต่างๆรอบตัวเด็กตามความสนใจและความต้องการของเด็ก ประกอบกับกิจกรรมที่หลากหลายที่ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การสังเกต การฟัง เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์แบบ S E เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กในการเรียนรู้โลกธรรมชาติและพัฒนาทักษะทางสติปัญญาต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเหมาะสมตามวัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่สำคัญที่สุดในชีวิต เพราะเป็นช่วงที่สมองของเด็กเจริญเต็มที่ เด็กทีความสนใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่อยู่รอบตัว โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และทักษะการสื่อสารที่จะช่วยให้สมองของเด็กได้พัฒนาเต็มที่

                สรุปได้ว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบ S E มีระดับด้านความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถด้านทักษะการสื่อสารและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อน-หลีงเรียน อยู่ในระดับที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ





วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 

👉สรุปตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย👈

เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนับจำนวนเลขพาเพลิน




                    การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์มีการโน้มน้าวให้เด็กเสนใจโดยการนำเอาสิ่งของมาให้เด็กดู และพาเด็กทำกิจกรรม เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจอยากจะเรียนรู้มากยิ่งขึ้นและมีการสอนให้เด็กรู้จักการแสดงออกและการให้กำลังใจเด็กที่เด็กได้แสดงออกในทางที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กมีความกล้ามากขึ้น ซึ่งกิจกรรมที่ได้ทำขึ้นนั้นดีมากทำให้เด็กมีความสุขในการเรียนรู้และอยากทำให้เด็กกล้าที่จะแสดงออก เพื่อที่จะให้เด็กมีความฉลาด และไหวพริบดีด้วย และยังสามารถนำสิ่งนี้ไปใช้สอนให้กับเด็กรุ่นต่อไปได้อีกเพื่อให้เด็กเติบโตเป็นคนดีของสังคมและกล้าที่จะแสดงออกในทางที่ถูกต้อง